วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

Nissan Leaf รถไฟฟ้าคันแรกในไทย


ในที่สุดความฝันก็เป็นจริงสำหรับชาวไทยที่จะได้สัมผัสตัวจริงเป็นๆของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบหรือ EV (Electric Vehicle) คันแรกของโลกและคันเตียวในประเทศไทยนาม Nissan LEAF ที่นำเข้าโดยบริษัท อีตั้น อิมปอร์ท จำกัด เพื่อนำล่องสู่การใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาดสำหรับคนไทยในอนาคต ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าอนาคตจะสดใสแค่ไหนสำหรับรถไฟฟ้าคันแรกที่ต้องผ่านอีกหลายด่าน..เริ่มจากด่านแรกคือผมนักทดสอบหน้าเก่ากับการทดสอบรถไฟฟ้าครั้งแรก
What's EV (Zero Emission) 
EV หรือ Electric Vehicle ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็คือ "ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว" ไม่ใช้น้ำมัน..ไม่มีเครื่องยนต์แต่ใช้แบตเตอรี่กับมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนโดยไม่มีการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศโลก หรือ "Zero Emission" ถ้านึกภาพไม่ออกก็เจ้ารถกอล์ฟนั่นแหละครับ EV เหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่มันไม่สามารถใช้งานได้จริงบนท้องถนนในระยะทางที่ไกลพอสำหรับขับไปทำงาน/กลับบ้าน (ต้องทำงานในเมืองนะ) ต่อการชาร์จไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้ง ซึ่งนิสสันเองได้ริเริ่มโครงการรถไฟฟ้ามาต้ังแต่ช่วงวิกฤตน้ำมันตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวๆปี 1947 ก่อนจะได้ออกมาเป็นรถไฟฟ้าคันแรกที่ชื่อว่า TAMA Electric Car ซึ่งใช้แบตเตอรี่แบบเดียวกับรถทั่วไปที่ให้กำลังแค่ 3.3 กิโลวัตต์ วิ่งได้เร็วสุดแค่ 35 กม./ชม.และไปได้ไกลสุด 65 กม. แล้วก็ห่างหายไปก่อนจะกลับมาจริงจังอีกครั้งในปี 1990 ซึ่งจับมือกับ Sony และร่วมกันพัฒนาและนำแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion มาใช้กับรถไฟฟ้า EV แทนแบบ Nickel Metal hydride ก่อนจะออกตัวรถจริงในปี 1995 กับ Prairie EV ที่ใช้ตัวถังร่วมกับ Prairie รถมินิแวนของค่ายตัวเอง (ในหลายยื่ห้อก็เริ่มส่งรถไฟฟ้าออกมาให้เห็นกันในช่วงนี้) ตามด้วยการนำรถ mini Crossover รุ่น R'Nessa มาทำรถไฟฟ้าอีกครั้งและใช้ชื่อรุ่นว่า R'Nessa EV ที่วิ่งได้ไกลขึ้นถึง 130 กม. สุดท้ายคือรุ่น Hypermini  ในปี 1999 ที่เด่นด้วยตัวถังแบบอะลูมิเนียมสเปชเฟรมพร้อมมอเตอร์แบบใหม่ neodymium magnet synchronous traction motor ที่ใช้เวลาชาร์ตแค่ 4 ชม.และวิ่งได้ไกล 115 กม.ก่อนจะมาถึง Nissan LEAF 
LEAF for Life 
ชื่อ LEAF เป็นการนำอักษรหน้าของคำ 4 คำ มารวมกันคือ Leading, Environmentally friendly, Affordable และ Family car หมายถึง รถครอบครัวที่รักษ์โลกในราคาไม่แพงนัก และเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี Nissan LEAF เปิดตัวครั้งแรกพร้อมกันทั้งในญี่ปุ่นและอเมริกาในปี 2010 หลังจากที่ได้เห็นภาพหลุดในเน็ทตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2009 ก่อนจะส่งกระแสความแรงสู่ทางฝั่ง UK. ในปี 2011 และอีกหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยซึ่งมีผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ Eton เป็นผู้นำเข้ามาปลุกกระแสรถยนต์ไร้มลพิษ Zero Emission ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% คันแรกของโลก LEAF พิชิตรางวัล Green Car Vision Award 2010 และ European Car of The Year รวมถึง Car of The Year ในปี 2011 มาหมาดๆ LEAF ถูกตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 3.76 ล้านเยน หรือ ประมาณ 32,780 เหรียญสหรัฐ ส่วนในเมืองไทยนั้นยังไม่มีการระบุราคาที่แน่นอนไว้ "เอาไว้รอให้ภาครัฐมีเสถียรภาพมากกว่านี้คงได้เห็นตัวเลขออกมาบ้าง"
LEAF เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ร่วมกันพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าจาก Nissan-Renault Alliance โดยมีผู้สนับสนุนอย่าง Better Place ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานพาหนะประเภท EV โดยเริ่มต้นสร้างสถานีทดสอบการชาร์จไฟฟ้าเพื่อ 3 แห่งก่อนที่ อิสรเอล เดนมาร์ก และฮาวาย    
จนปัจุบันได้เริ่มกระจายสู่หลายทั่วโลกแล้ว สำหรับบ้านเราคงต้องรอดูชาวโลกเค้าใช้กันไปก่อนว่าจะเวิร์คหรือวูบ ช่วงนี้คงต้องชาร์จไฟบ้านกันไปก่อน
Design&Interior
เป็นครั้งแรกที่ Nissan สร้างตัวถังใหม่เพื่อใช้สำหรับรถไฟฟ้าคันล่าสุด Nissan LEAF ที่มีโครงสร้างตัวถังเป็นแบบ Hatchback 5 ประตู ด้วยมิติตัวถังซึ่งมีความยาว 4,445 มม.ฐานล้อ 2,700 มม. กว้าง 1,770 มม. พร้อมส่วนสูง 1,550 มม.และน้ำหนักกว่าตันครึ่ง ขนาดตัวพอๆกับรถซีดานไม่เล็กเหมือน Eco Car หรือ City Car อย่างที่คิด LEAF ถูกการออกแบบในสไตล์รถแห่งอนาคตที่ถูกพัฒนามาจาก Nissan Tiida เหมือนกับจะเป็นหน้าตาของ Tiida ในอนาคตบนเส้นสายที่เฉียบคมรูปทรง V-Shape ซึ่งมีความยาวและลาดเอียงมากพร้อมออกแบบให้มีเส้นทางเดินของกระแสลมที่ไหลผ่านได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นเส้นขอบประตูหรือกระจกมองข้างที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานได้กว่า 10% รวมถึงโคมไฟหน้าแบบ Blue Reflective ที่ให้แสงสีฟ้าจากไฟ LED (Lighting-emitting diode) เพื่อช่วยเซฟกระแสไฟไปในตัว โลโก้ Nissan จะใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์บอกว่าคันนี้เป็นรถที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมประทับตราบนฝาเปิด/ปิดช่องชาร์จไฟไฟ้า (Charge Port) ด้านท้ายที่ดีไซน์ไฟท้ายโคมใสเป็นแนวตั้งลากยาวตั้งแต่ขอบหลังคาถึงกันชนท้ายลงตัวกับประตูบานท้ายและสปอยเลอร์พร้อมไฟเบรกดวงที่ 3 แบบ LED ที่ไม่มีแผง Solar Cell Module ซึ่งจะเก็บไฟไว้ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเล็กๆน้อยเช่นเดียวกับไฟตัดหมอกและกล้องส่องหลังที่มีมาให้เฉพาะในรุ่นท็อป  
ภายในห้องโดยสารสไตล์ Electric Car ที่ถูกออกแบบให้ดูล้ำสมัยของ LEAF ถูกเดินเรื่องด้วยสีขาวสะอาดตาตัดกับโทนสีดำเงาตามจุดต่างๆที่เน้นให้สามารถใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากและเริ่มการทำงานด้วยปุ่ม Power (Start/Stoping EV System) ซึ่งทำงานร่วมกับกุญแจแบบ Intelligent Key แผงหน้าปัดแบบดิจิตอลดีไซน์เล่นระดับ 2 ชั้นด้านบนเป็นมาตรวัดความเร็วแบบดิจิตอล นาฬิกาและอุณหภูมิภายนอกรถอยู่ด้านซ้ายซึ่งด้านขวาที่เห็นเป็นรูปต้นคริสมาสนั้นคือ ECO Indicator คอยบอกสถานะการขับขี่แบบประหยัด จอล่างมีทั้งเกจ์บอกปริมาณไฟฟ้าพร้อมระยะทางที่ยังไปต่อได้ (Driving Range) ทางฝั่งขวา ตรงกลางเป็นจอ Onboard แบบ Matrix liquid crystal display ไว้บอกค่าต่างๆเช่น อัตราสิ้นเปลือง ระยะทางและเวลาที่ใช้งานและฝั่งซ้่ายจะเป็นเกจ์วัดอุณหภูของแบตเตอรี่ ส่วนตรงกลางด้านบนจะเป็นตัวบอกสถานะการใช้ไฟฟ้าและการชาร์ตไฟกลับ(Power Meter) พวงมาลัยทรง 3 ก้านแบบมัลติฟังชั่นสีขาวครีมสลับเทาใช้ควบคุมเครื่องเสียงแบบ 2 Din ที่ทุกฟังชั่นเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วนๆและอุปกรณ์ต่างๆภายในรถ ที่เด่นที่สุดในนี้คงนี้ไม่พ้นคันเกียร์แบบไฟฟ้าทรงกลมคล้ายเมาท์คอมพิวเตอร์ (Electric Shift Control system)ซึ่งใช้งานง่ายแค่ดันเบาไปตามตำแหน่งที่จะไป เช่น D,R และ N ส่วนเกียร์สำหรับจอด P แค่กดสวิทซ์ด้านบนเท่านั้น ส่วนเบกมือที่อยู่ติดกันก็เป็นแบบไฟฟ้า (Electric Parking Break) ที่ใช้งานง่ายมากๆเช่นกันแค่ดึงและดันเบาๆ ข้ามมาดูที่เบาะหลังรู้สึกได้เลยว่ากว้างกว่า Tiida พอสมควรพร้อมพื้นที่เก็บของด้านท้ายอีกนิดหน่อย ถ้าต้องการใส่ของมากก็แค่พับเบาะหลังลงมาแบบ 60:40 ก็เท่านั้นครับ สุดท้ายคือสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับรถ EV นั่นคืออุปกรณ์สำหรับชาร์จไฟบ้านที่ถูกเก็บไว้ในกระเป๋าเป้ตรงที่เก็บสัมภาระหลังรถ (ถ้าไม่มีที่ชาร์จ..LEAF ก็ไม่ต่างกับโทรศัพท์แบตหมด) ฉะนั้นไม่ควรเคลื่อนย้ายกระเป๋าใบนี้ออกจากรถเด็ดขาด
Engine&Transmission&Performance
LEAF ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ทำจากลามิเนตแบบบาง Lithium-ion หรือเขียนย่อๆได้ว่า Li-ion ขนาด 24 kW ที่ติดตั้งอยู่บริเวณใต้ห้องโดยสาร พร้อมขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ 3 เฟสซึ่งวางแทนเครื่องยนต์ที่ด้านหน้าแบบ High-Response Synchronous Motor ที่ให้กำลังสูงสุด 80 กิโลวัตต์ แรงบิดสูงสุด 280 นิวตันเมตร เมื่อรวมกันก็จะได้กำลังสูงสุด 109 แรงม้า (hp) หรือ 90 กิโลวัตต์ (kW) ก่อนส่งถ่ายกำลังทั้งหมดผ่านระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ Single Speed Direct Drive ลงสู่ล้อคู่หน้าซึ่งเป็นล้อขับเคลื่อน ถ้าลองเทียบกับรถเครื่องเบนซินทั่วๆไปแล้ว Leaf จะมีพละกำลังใกล้เคียง City Car เพียงแต่ Leaf ไม่ต้องเติมน้ำมัน แค่ชาร์จไฟฟ้าแบบ Plug-in ผ่านช่องชาร์จไฟบริเวณหน้ารถซึ่งมี 2 ช่องคือ Quick Charge กับ Normal Charge แต่สามารถชาร์ตได้ 3 วิธี คือแบบชาร์ตเร็ว (Quick Charge) ซึ่งจะใช้สำหรับการชาร์ตไฟจากสถานีจ่ายไฟสาธารณะ (Public Charging Station) โดยเชื่อมต่อเข้ากับช่องชาร์ตด้านซ้ายที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งกับมันครับเพราะยังไม่มีสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าสถาธารณะซึ่งมีเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และโปตุเกศ เป็นต้น การชาร์ตแบบเร็วจะใช้เวลาชาร์ตจนถึง 80% ของความจุแบตเตอรี่ประมาณ 30 นาที แบบที่สองเป็นแบบเหมาะกับบ้านเราและอีกหลายๆประเทศคือการชาร์ตแบบปกติ (Normal Charge) สำหรับไฟบ้าน 220-240 โวลต์ โดยการเชื่อมต่อชุดอุปกรณ์สำหรับชาร์ต Electric Vehicle Supply Equipment (EVSE) เข้าที่ช่องเล็กทางขวากับปลั๊กไฟแบบ 3 เฟทที่บ้าน ซึ่งเจ้า EVSE จะเป็นตัวแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับสาหรับจากปลั๊กไฟที่บ้านเข้าสู่แบตเตอรี่ซึ่งใช้เวลาในการชาร์ตจนเต็มประมาณ 8 ชม. และที่สำคัญควรตรวจดูเบรกเกอร์ที่บ้านด้วยนะครับถ้าต่ำกว่า 20 แอมป์มันจะตัดครับ ส่วนการชาร์ตแบบสุดท้ายคือแบบ Trickle Charge ซึ่งใช้กับไฟบ้าน 110-120 โวลต์ที่ใช้ช่องชาร์ตเดียวกับแบบ Normal แต่ใช้เวลาชาร์ตน่นถึง 21 ชม.ถึงจะเต็ม ส่วนใครที่ได้อ่านคู่มือของ LEAF ไม่ต้องงงว่าทำไมผมอธิบายไม่ตรงนั่นเพราะคู่มือส่วนใหญ่ใช้สำหรับประเทศที่ใช้ไฟ 110-120 โวลต์ครับในนั้นถึงบอกว่า Normal Charge นั้นต้องชาร์ตกับอุปกรณ์แปลงไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่ที่บ้าน "บ้านเราไฟ 220 แรงอยู่แล้วไม่ต้องครับ" 
เมื่อแบตเตอรี่เต็มจะสังเกตุได้จากไฟ LED สีฟ้าบนคอนโซลหน้าถ้าติดค้าง 3 ดวงแสดงว่าแบตเต็มหรือไฟแสดงสถานะการชาร์ตไฟฟ้าสีส้มที่อุปกรณ์ EVSE ดับลง ซึ่งตามสเป็ค LEAF จะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 160 กม. ต่อการชาร์ต 1 ครั้ง ซึ่งมันต่ำกว่าตัวเลขที่โชว์จริงจากการชาร์จจริงที่บ้านนั้นบอกว่าวิ่งได้ถึง 173 กม. อย่างไรก็ตามระยะทางนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆมากมายเมื่อใช้งานจริง "จะหมดช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการขับขี่ที่แตกต่าง" ทั้งความเร็วเฉลี่ยหรือการขับที่ต้องชะลอหรือเบรกบ่อยๆนอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆของรถก็มีส่วนทำให้วิ่งได้ระยะทางน้อยลงหรือพูดง่ายก็คือกินไฟมากขึ้นนั่นเอง  
LEAF ให้อัตราเร่งที่ดีเกินคาดโดยเฉพาะในช่วงสปีดต้นตั้งแต่กดคันเร่ง ซึ่งรู้สึกได้ถึงแรงบิดทั้งหมด 280 นิวตันเมตรถูกถ่ายทอดออกมาเต็มๆโดยไม่ต้องรอรอบเหมือนเครื่องยนต์ปกติ "ไม่น่าเชื่อว่าลำพังแค่พลังงานไฟฟ้าจะแรงได้ขนาดนี้" แถมแรงด้วยพลังเงียบแบบไร้เสียงรบกวนด้วย และนอกจากพลังไฟฟ้าจะถูกดึงออกมาใช้งานตั้งแต่เริ่มสาตร์ทแล้ว ทุกครั้งที่มีการชะลอตัวหรือเบรกระบบ Regenerative Breaking System จะทำหน้าที่แปลงพลังงานจลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อหมุนเวียนเก็บพลังงานไว้ที่แบตเตอรี่เช่นเดียวกับรถไฮบริด ถึงแม้ว่า LEAF จะกินขาดในช่วงออกตัวเมื่อเทียบกับรถที่มีแรงม้าเท่ากันด้วยตัวเลข 0-100 กม./ชม.ที่ 11.2 วินาที (แรงไม่เบาเลยทีเดียว) แต่ในช่วงความเร็วปลายนั้น LEAF กลับแผ่วลงและทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 148 กม./ชม. เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเพราะวิศกรต้องการให้ LEAF เซฟกระแสไฟไว้ให้วิ่งได้ไกลที่สุดมากว่า
Economy 
สุดท้ายที่ทุกคนคาดหวังจาก LEAF ไม่แพ้อัตราเร่งหรือระยะและค่าไอเสียนั่นคือความประหยัดที่ผมลองทดสอบดูหลายแบบด้วยกัน เช่น วิ่งในเมืองช่วงรถติดความเร็วเฉลี่ยไม่เกิน 30 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลืองจะอยู่ที่ประมาณ 7.4 km./kWh. และลองเพิ่มความเร็วดูบนรถโล่งซึ่งเหยียบไป 90-100 กม./ชม.จะได้ตัวเลขแค่ 5.4 km./kWh สุดท้ายได้ความเร็วที่เซฟสุดคือประมาณ 70 กม./ชม. ด้วยตัวเลข Onboard 7.7 km./kWh. จากนั่้นเป็นช่วงที่ปวดหัวที่สุดกับการคิดออกมาเป็นค่าไฟฟ้า ซึ่งใช้เวลาหาข้อมูลอยู่นานจนมาจบที่คุณพี่ที่ทำงานอยู่การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชี้ทางสว่าด้วยสูตรคิดค่าไฟฟ้าที่ถูกต้องดังนี้ 
1. คำนวณ กำลังไฟฟ้า (Watt) จาก ค่าความต่างศักดิ์ของไฟฟ้า (Volt)
P(watt) = E(Volt) x I(AMP)
จาก spec ใช้ไฟฟ้า AC 220 Volt 20 A ใช้เวลา 8 ชม.
                                = 220 x 20
                                =  4400 watt
2.คำนวณจำนวนหน่วยไฟฟ้า(ยูนิต)ที่ใช้ต่อการ Charge 1 ครั้ง
1 ยูนิต  = QUOTE  
             =  QUOTE  8
             = 35.2  ยูนิต (หน่วย)ต่อการcharge 1 ครั้ง
3.คำนวณค่าไฟฟ้าจากยูนิตที่ใช้ต่อการ Charge 1 ครั้ง
ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน 
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หน่วยที่ 36-100 ค่าไฟหน่วยละ 2.1800 บาท = 35.2 x 2.1800 = 76.736      บาท
      หน่วยที่ 101-150 ค่าไฟหน่วยละ 2.2734 บาท = 35.2 x 2.2734 = 80.02368  บาท
      หน่วยที่ 151-400 ค่าไฟหน่วยละ 2.7781 บาท = 35.2 x 2.7781 = 97.78912  บาท
      หน่วยที่ 401 ขึ้นไป ค่าไฟหน่วยละ 2.9780 บาท = 35.2 x 2.978 = 104.8256    บาท
ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 2 ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หน่วยที่ 1-150 ค่าไฟหน่วยละ 1.8047 บาท = 35.2 x 1.8047 = 63.52544  บาท
    หน่วยที่ 151-400 ค่าไฟหน่วยละ 2.7781บาท = 35.2 x 2.7781 = 97.78912   บาท
     หน่วยที่ 401 ขึ้นไป ค่าไฟหน่วยละ 2.9780 บาท = 35.2 x 2.978 = 104.8256    บาท
4.การคำนวณค่าไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าในการ Charge 1 ครั้งค่าไฟฟ้าฐาน+ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)
(ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft) มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตามราคาเชื้อเพลิง โดยปรับปีละ 3 ครั้ง ปัจจุบัน(.-..54) ประมาณ 0.95 บาท/หน่วย)
ดังนั้นหากจะคำนวณค่าไฟฟ้าโดย Charge ที่บ้านพักอาศัยซึ่งใช้ไฟฟ้า 401 หน่วยขึ้นไป สามารถคำนวณได้ดังนี้
ค่าไฟฟ้าฐาน หน่วยที่ 401 ขึ้นไป ค่าไฟหน่วยละ 2.9780 บาท = 35.2 x 2.978 = 104.8256  บาท
จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ต่อการ Charge 1 ครั้ง 35.2 หน่วย
ค่า Ft 35.2 x 0.95 =   33.44 บาท
                  =  104.8256 + 33.44
                  =  138.2656 บาทต่อการ Charge 1 ครั้ง
สรุปแล้ว LEAF ชาร์ตไฟ 1 ครั้งเป็นในเวลา 8 ชม.ใช้ไฟไปทั้งหมด 35.2 หน่วย คูณกับค่าไฟฟ้าราคาหน่วยละ 2.9780 บาท (ตามเรทค่าไฟสูงสุดที่ใช้เกิน 400 หน่วย/เดือน) จะได้ออกมาเป็น 104.8256 บาทและบวกกับค่า FT ราคาหน่วยละ 0.95 บาทก็จะได้เป็นค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น 138.2656 บาทต่อการชาร์ต 1 ครั้ง ซึ่งถ้า LEAF วิ่งได้ตามระยะทางบน Onboard คือ 170 กม. (วิ่งไม่เกิน 70 กม./ชม.น่าจะได้ใกล้เคียง) มาหารออกมาเป็นค่าไฟฟ้าต่อระยะทางจะอยู่ีที่ กม.ละ 0.813 บาท เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันซึ่งให้กำลังใกล้เคียงกันอย่างรถในกลุ่มซิตี้คาร์ที่มีอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยอยู่ประมาณ 14 กม./ลิตร (ขับในเมือง) ค่าใช้จ่ายจะตกกิโลเมตรละ 2.695 บาท (น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 95 ราคาลิตรละ 37.74 บาท) LEAF ประหยัดกว่าถึงกิโลเมตรละ 1.882 บาท ประหยัดกว่ากันเยอะเสียอย่างเดียวที่วิ่งได้น้อยไปหน่อยเท่านั้นเอง 
Handling&Ride&Break
นอกจากความเงียบที่ทำให้ผมสบายหูมากๆ ก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นนักตอนขับ เพราะ LEAF ถูกปรับเซ็ทระบบกันสะเทือนมาเพื่อเน้นการขับขี่ที่นุ่มนวลเบาสบายเหมือนลอยอยู่บนพื้นถนนไม่มีฟิวเรซซิ่งอยู่แม้แต่น้อย แต่รู้สึกได้ถึงความลู่ลมของตัวรถจากการจัดการมวลอากาศให้ไหลลื่นจนไม่รู้สึกถึงแรงต้าน อีกอย่างคือทัศนวิสัยที่ค่อยข้าง OK. ไม่เหมือนกับรถไฮบริดที่ด้านหลังมักมองได้ไม่ครอบคลุม พวงมาลัย 3 ก้านแบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้า LEAF ให้น้ำหนักเบาขับง่ายคล่องตัวและแม่นยำเหมาะกับการใช้งานในเมืองบวกกับช่วงล่างที่นิ่มซะจนทำให้ผมแทบเคลิ้มหลับด้วยระบบช่วงล่างพื้นฐานเดียวกับรถแฮทแบ็คซ์ในค่ายคือด้านหน้าเป็นแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท โช็คอัพ คอยล์สปริงค์พร้อมเหล็กกันโคลงและด้านหลังแบบคานบิดหรือทอร์ชั่นบีม พร้อมระบบเบรกแบบดิสก์ทั้ง 4 ล้อ ที่พ่วงระบบ Regenerative Breaking System ไว้ชาร์ตไฟขณะเบรกซึ่งทำให้มีอาการของ Engine Break มาช่วยชะลอความเร็วได้ดีขึ้น นอกจากนี้ Leaf ยังจัดมาตรฐานความปลอดระดับกลางมาให้คือมี ABS, EBD และ BA รวมถึงระบบควบคุมเสถียรภาพการขับขี่ VSC รวมถึงถุงลมนิิรภัย SRS Airbag ที่คู่หน้าเท่านี้ก็น่าจะพ เพราะคงไม่มีใครซื้อรถไฟฟ้ามาขับซิ่งแทนรถสปอร์ตแน่นอน
Tester's Verdict
สำหรับใครที่อยากเป็นเจ้าของ Nissan LEAF คันนี้คงต้องอดใจรอกันไปก่อนเพราะผู้นำเข้าเองขอเตรียมความพร้อมอีกสักหน่อย เผื่อว่าภาครัฐจะแคมเปญใหม่ๆมาช่วยผลักดันทั้งเรื่องภาษีและเรื่องเม็ดเงินสนุบสนุนในส่วนของสถานีจ่ายไฟฟ้าที่ควรมีไว้ลองรับถ้าได้ใช้กันจริงๆ มาตรฐานของระบบไฟฟ้าที่อยู่อาศัยในบ้านเราก็ต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสากลขึ้น รวมถึงการวางแผนอีกหลายอย่างในระยะยาว ถึงจะยังไม่ได้ใช้ตอนนี้แต่ก็ต้องขอบคุณทาง ETON Import ที่เป็นส่วนหนึ่งในภาระกิจร่วมพิทักษ์โลกในครั้งนี้ ซึ่ง Nissan LEAF คันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปลุกให้คนไทยหันมาเอาใจโลกใบนี้ให้มากขึ้นอีกครั้ง 

Specification :  Nissan LEAF
รายละเอียดการผลิต
รุ่นปี: 2011
ประเทศผู้ผลิต: ประเทศญี่ปุ่น
ผู้นำเข้าจำหน่ายในประเทศไทย: บริษัท อีตั้น อิมปอร์ท จํากัด
ประเภทรถยนต์: Electric Vehicle
ราคา: (ล้านบาท) NA
Dimension:(mm)
Length: 4,445
Width: 1,770
Height: 1,545
Wheelbase: 2,700
Tread (front/rear): NA            
Electric Motor
แบบ High-Response Synchronous Motor 
ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุด (kw) 80
แบตเตอรี่ Lithium-ion 24 kW 
กำลังรวมทั้งระบบ (hp/kw) 109/90
แรงบิดสูงสุด (Nm) 280
Drivertrain
ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า
ระบบส่งกำลัง แบบ 
ระบบบังคับเลี้ยว แร็คแอนด์พิเนียนพร้อมพาวเวอร์ผ่อนแรงแบบไฟฟ้า EPS
(Electric Power Steering)
Suspension
หน้า         อิสระแม็กเฟอร์สันตรัท คอยล์สปริงค์พร้อมเหล็กกันโคลง 
หลัง         ทอร์ชั่นบีม
Break
หน้า         ดิสก์เบรกพร้อมระบบ Regenerative Breaking
หลัง ดิสก์เบรก
Wheel+Tire
ล้ออัลลอย ขนาด 16 นิ้ว 
ยาง Bridgestone Ecopia ขนา 205/55R16
Test Result : Nissan LEAF
Acceleration (sec./m.)            
(km./h)
0-40
0-60 4.7
0-80                
0-100 11.2
0-120  
0-140
อัตราเร่งแซง (sec.)
(km./h)
40-120 14.3
80-120   9
Quarter Mile 0-402m. (sec./km./h.) 17.9/124.2
0-1,000m.  (sec./km./h.) 33.3/141.9

Top Speed 148.6
Consumption (km./kWh.)
City (30 km./h) 7.4 
HWY (90-100 km./h.)         5.4
AVR. 6.4
AVR. (km./b) 0.813

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น